เมนู

ไปได้. เราจักไม่บอกแก่นางละ จักหนีไปบวช." ท่านไม่บอกแก่นางเลย
ลุกขึ้นแล้วในส่วนราตรี หนีไปแล้ว.
ครั้งนั้น คนรักษาพระนครได้จับท่านไว้แล้ว. ท่านกล่าวว่า "นาย
ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้เลี้ยงมารดา, ขอท่านทั้งหลายจงปล่อยข้าพเจ้าเสียเถิด"
ให้เขาปล่อยตนแล้ว พักอยู่ในที่แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวช
เป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว เล่นฌานอยู่. ท่านอยู่ในที่
นั้นนั่นเอง เปล่งอุทานขึ้นว่า " เครื่องผูกคือบุตรและภรรยา เครื่องผูก
คือกิเลส อันบุคคลตัดได้โดยยาก ชื่อแม้เห็นปานนั้น เราตัดได้แล้ว."

พระศาสดาทรงแสดงเครื่องจองจำ 2 อย่าง


พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงประกาศ
อุทานที่พระโพธิสัตว์นั้นเปล่งแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. น ตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา
ยทายสํ ทารุชํ ปพฺพชญฺจ
สารตฺตรตฺตา มณิกุณฺฑเลสุ
ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา.
เอตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา
โอหารินํ สิถิลํ ทุปฺปมุญฺจํ
เอตํปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ
อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหาย.
" เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และ
เกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากล่าวเครื่อง


จองจำนั้น ว่าเป็นของมั่นคงไม่. ความกำหนัดใด
ของชนทั้งหลายผู้กำหนัด ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณี
และตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตร1 แลใน
ภรรยาทั้งหลายใด, นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความ
กำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า เป็นเครื่องจองจำอัน
มั่นคง มีปกติเหนี่ยวลง อันหย่อน (แต่) เปลื้องได้
โดยยาก. นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั่น
แล้ว เป็นผู้ไม่มีไยดี ละกามสุขแล้วบวช.2"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา เป็นต้น ความว่า บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หากล่าวเครื่องจองจำที่เกิดแต่
เหล็ก กล่าวคือตรวน ชื่อว่า เกิดแต่เหล็ก ที่เกิดแต่ไม้ กล่าวคือ ชื่อ คา
และเครื่องจองจำคือเชือก ที่เขาเอาหญ้าปล้อง หรือวัตถุอย่างอื่น มีปอ
เป็นต้น ฟันทำเป็นเชือก ว่า " เป็นของมั่นคง" ไม่, เพราะความเป็น
เครื่องจองจำ ที่บุคคลสามารถตัดด้วยศัสตราทั้งหลาย มีดาบเป็นต้นได้.
บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่ เป็นผู้กำหนัดนักแล้ว, อธิบายว่า ผู้
กำหนัดด้วยราคะจัด.
บทว่า มณิกุณฺฑเลสุ คือในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย, อีกอย่าง
หนึ่ง (คือ) ในตุ้มหูทั้งหลายอันวิจิตรด้วยแก้วมณี.
บทว่า ทฬฺหํ ความว่า ความกำหนัดใด ของชนทั้งหลาย ผู้กำหนัด
1. แปลเติมอย่างอรรถกถา. 2. ขุ. ธ. 25/60, ชา. ทุก. 27/ข้อ 251. อรรถกถา
3/185. พันธนาคารชาดก.